1

หลักสูตรวุฒิบัตรศัลยศาสตร์



หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

    สาขาศัลยศาสตร์     

รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

ฉบับ พ.ศ. ๒๕๖๒

  1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย         หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์                         รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

ภาษาอังกฤษ     Somdech Phrapinklao surgical Residency Training Curriculum

. ชื่อวุฒิบัตร

          ชื่อเต็ม

                ภาษาไทย         วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์

               ภาษาอังกฤษ     Diploma of the Thai Board of Surgery

           ชื่อย่อ

               ภาษาไทย          วว. สาขาศัลยศาสตร์

               ภาษาอังกฤษ      Dip., Thai Board of Surgery

        ๓.หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        กลุ่มงานศัลยกรรม  รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

. พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร

           โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสถาบันหลักของกรมแพทย์ทหารเรือในการผลิตศัลยแพทย์/ศัลยแพทย์ทหารที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ปุวยฉุกเฉิน มีความพร้อมในการเป็นอาจารย์แพทย์ สามารถสนับสนุนภารกิจให้กับกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม ตลอดจนงานในระบบการบริการทางการแพทย์สาธารณสุขและระบบสาธารณสุขของประเทศ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในสถานการณ์ปกติและในกรณีสาธารณภัยต่างๆ

          โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้ากำหนดพันธกิจด้านการศึกษาของหลักสูตร ดังนี้ “เพื่อผลิตศัลยแพทย์หรืออาจารย์แพทย์สาขาศัลยกรรมที่มีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ของแพทยสภา ที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อพัฒนาบริการด้านศัลยกรรม ตอบสนองต่อภารกิจของกองทัพเรือ รวมทั้งระบบการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ”

          โดยฝึกอบรมให้ศัลยแพทย์มีความสามารถทั้งในส่วนบุคคล การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และการทำงานรวมกันเป็นทีมในการวินิจฉัยรักษา การทำหัตถการ และการบริหารจัดการทางการแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะโรคทางศัลยกรรมได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีทั้งคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร ตลอดจนมีความสามารถในการทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถบริหารจัดการเพื่อความเตรียมพร้อมในการสนับสนุนต่อภารกิจต่างๆได้ตามมาตรฐานของวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อกองทัพเรือและกระทรวงสาธารณสุข

๕. ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร

                  ศัลยแพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์จากโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าจะต้องมีคุณสมบัติ และความสามารถขั้น         พื้นฐานตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้

๑. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)

                    ๑.๑ มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมตั้งแต่ระยะก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และภายหลังการผ่าตัด รวมไปถึงการแก้ไขภาวะ                               แทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะอีกด้วย

                    ๑.๒  มีทักษะในการทำหัตถการทางศัลยกรรมทั่วไปตามเกณฑ์กำหนดของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

                    ๑.๓ มีทักษะในการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ป่วยอุบัติเหตุ ( Advanced trauma life support )

 ๒.การมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and Skills)

                    ๒.๑ เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจรวมไปถึงความรู้ทางการแพทย์คลินิกที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยศัลยกรรม

                    ๒.๒ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาศัลยศาสตร์

 ๓. การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง(Practice-based Learning and Improvement)

                     ๓.๑ ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้

                     ๓.๒ วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้

                     ๓.๓ เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานได้

 ๔. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

                    ๔.๑ นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย บันทึกรายงานทางการแพทย์ และอภิปรายปัญหาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

                    ๔.๒ ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

                    ๔.๓ สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  โดยมีความ

                          เมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย

                    ๔.๔ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    ๔.๕ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่นๆ โดยเฉพาะทางศัลยกรรม

. ความเป็นมืออาชีพ(Professionalism)

                   ๕.๑ มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วยญาติผู้ร่วมงานร่วมวิชาชีพและชุมชน

                   ๕.๒ ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์

 ๕.๓ มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต(Continuous professional development)

๕.๔ การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึง

                                    ประสิทธิภาพและความปลอดภัย และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผ่าตัดรักษา

                              ๕.๕ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะสาขาวิชาศัลยศาสตร์

. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)

                   ๖.๑ มีความรู้เกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ

                   ๖.๒ มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย

                   ๖.๓ ใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม  (Cost consciousness medicine) และ  สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้                            เข้ากับ บริบท  ของการบริการสาธารณสุข ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

. แผนการฝึกอบรม/หลักสูตร

              การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป กองศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้จัดหลักสูตรการอบรมสอดคล้องกับหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมพร้อมที่จะปฏิบัติงานเป็นศัลยแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการฝึกอบรม ทั้งในแง่ความรู้และภาคปฏิบัติ(หัตถการและการดูแลผู้ป่วย)  ตามจุดประสงค์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา จึงได้กำหนดวิธีการฝึกอบรมดังต่อไปนี้

            ๖.๑  เนื้อหาของการฝึกอบรม

            ๑)  เนื้อหาการฝึกอบรม(ความรู้)  ครอบคลุมองค์ความรู้ ๓ ส่วน (ตามผนวก ๒) เป็นไปตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่ง                           ประเทศไทย)

                  ก. เนื้อหาสำคัญ (Essential contents) ของการฝึกอบรมครอบคลุมหัวข้อโรคหรือ ภาวะของผู้ป่วยทางศัลยกรรมทั่วไปตามข้อกำหนด

                  ข. ผู้ป่วยทางศัลยกรรมทั่วไปตามข้อกำหนด 

                  ค. ความรู้ทั่วไปในสาขาศัลยศาสตร์อื่นๆ และสาขาที่เกี่ยวเนื่อง    

            ๒)  หัตถการทางศัลยศาสตร์   

                    กลุ่มงานศัลยกรรม  รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้กำหนดเป้าหมายในการทำหัตถการของแพทย์ประจำบ้านแยกตามหมวดหมู่ให้      สอดคล้องกับดูแลผู้ป่วยในระยะก่อนผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และหลังผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดเองได้อย่างเหมาะสม  โดยมีการแบ่งระดับความสามารถในการทำหัตถการ เป็น ๒ ขั้นดังนี้

                    ระดับที่ ๑ หัตถการที่แพทย์ประจําบ้านต้องทําได้ด้วยตนเอง

                    ระดับที่ ๒ หัตถการที่แพทย์ประจําบ้านควรทําได้ (ทําภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ) 

                    หมายเหตุ ความสามารถในการทำหัตถการผ่าตัดที่ซับซ้อนขึ้นอยู่กับแพทย์ประจำบ้านแต่ละชั้นปีเป็นไปตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ดังแสดงไว้ใน Procedural skills ต่างๆ (ตามผนวก ๓)

             ๓) การตรวจทางห้องปฏิบัติการในรูปแบบต่าง ๆ  อาทิเช่น  การตรวจทางรังสี การตรวจอัลตราซาวด์  การตรวจเลือด ฯลฯ

             ๔)  การเรียนรู้ทางด้านบูรณาการ (ตามผนวก๔)

                  ก) ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

                            (๑) การสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์, ผู้ร่วมงาน, ผู้ป่วยและญาติ

                            (๒) การดูแลผู้ป่วยและญาติในวาระใกล้เสียชีวิต

                            (๓) การบอกข่าวร้าย

                            (๔) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

                            (๕) การบริหารจัดการ Difficult case

                            (๖) การตระหนักรู้พื้นฐานความเชื่อทางสุขภาพที่ต่างกัน

               ข)  ความเป็นมืออาชีพ ( Professionalisms )

                         (๑) การบริบาลโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient-centered care)

                                 (๑.๑) การยึดถือประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก

                                (๑.๒) การรักษาความน่าเชื่อถือแก่ผู้ป่วยและสังคมโดยการรักษามาตรฐานการดูแล รักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด

                                (๑.๓) การให้เกียรติและยอมรับเพื่อนร่วมวิชาชีพเพื่อนร่วมงานผู้ป่วยและญาติ

                                (๑.๔) ความสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสภาวะหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้ก่อน

                      (๒) พฤตินิสัย

                                (๒.๑) ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลาความซื่อสัตย์ และมีวินัย

                               (๒.๒) การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

                                 (๓) จริยธรรมการแพทย์

                               (๓.๑) การหลีกเลี่ยงการรับผลประโยชน์ส่วนตัวในทุกกรณี

                               (๓.๒) การนับถือให้เกียรติสิทธิและรับฟังความเห็นของผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยไม่เห็นด้วยกับ การรักษาหรือปฏิเสธการรักษา   

                               (๓.๓) การขอความยินยอมจากผู้ป่วยในการดูแลรักษาและหัตถการในกรณีที่ผู้ป่วยตัดสินใจไม่ได้ต้องสามารถเลือกผู้ตัดสินใจ                                          แทนผู้ป่วยได้

                               (๓.๔) การปฏิบัติในกรณีที่ผู้ป่วยร้องขอการรักษาที่ไม่มีประโยชน์หรือมีอันตราย

                               (๓.๕) การรักษาความลับและการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย

                               (๓.๖) การประเมินขีดความสามารถ และยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง

                      (๔)  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                               (๔.๑) การกำหนดความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง

                               (๔.๒) การค้นคว้าความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือได้ด้วยตนเอง

                               (๔.๓) การประยุกต์ความรู้ที่ค้นคว้ากับปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

                               (๔.๔) การวิเคราะห์และวิจารณ์บทความทางวิชาการ

                               (๔.๕) การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

                               (๔.๖) การใช้  Electronic databases และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้

                              (๔.๗) การถ่ายทอดความรู้แก่แพทย์บุคลากรทางการแพทย์นิสิตนักศึกษาผู้ป่วยและญาติ

                ค)  การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ  ( System-based Practice )

ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพและการพัฒนาสาธารณสุขของชาติ

  1. ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพเช่นระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ เป็นต้นความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพและกระบวนการ Hospital accreditation การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการ ดูแลรักษา
  2. ความรู้เกี่ยวกับ Cost consciousness medicine  เช่น นโยบายการใช้ยาระดับชาติ

  บัญชียาหลักแห่งชาติ การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผลเป็นต้น

(๓)  ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการแพทย์

(๔)  ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและสิทธิผู้ป่วย

(๕)  ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก

(๕.๑) การแพทย์แผนไทยเช่นการใช้อาหารและสมุนไพรต่างๆรักษาโรคเป็นต้น

(๕.๒) การแพทย์แผนจีน เช่นการใช้สมุนไพรและการฝังเข็มรักษาโรคเป็นต้น

(ง)  การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ( Practice-based Learning )

(๑)  ทักษะและจริยธรรมในการวิจัย

(๒) การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบทีมสหวิชาชีพ

(๓) การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล

(๔) การบันทึกเวชระเบียนครบถ้วนถูกต้อง

(๕) การสร้าง Clinical Practice Guideline (CPG)

(๖) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

(๗) การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค

(๘) การประเมินความพอใจของผู้ป่วย

(๙) การมีส่วนร่วมในองค์กร เช่นภาควิชา/แผนก/กลุ่มงาน โรงพยาบาล/สถาบัน /ราชวิทยาลัยฯ     

(๑๐) การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง

๖.๒  วิธีการให้การฝึกอบรม

            กลุ่มงานศัลยกรรม  รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา ๔ ปี (๔๘เดือน) โดยมีระยะเวลาการฝึกอบรมในส่วนของศัลยศาสตร์ทั่วไปเป็นเวลา ๒๘ เดือน(อย่างน้อย๒๔เดือนตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย)

หมายเหตุ: ยกเว้นในกรณีที่คณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ พิจารณาความเหมาะสมเป็นอย่างอื่น สำหรับผู้เข้าอบรมเฉพาะราย

หลักสูตรศัลยศาสตร์  กลุ่มงานศัลยกรรม  รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าจัดวิธีการให้การฝึกอบรมแก่แพทย์ประจำบ้าน หลักสูตรศัลยศาสตร์  2  รูปแบบ ได้แก่ 

แผนการสอนด้านทฤษฎี  แพทย์ประจำบ้านจะต้องเข้ารับการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านทฤษฎี  ในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางศัลยกรรม  

             ๑). ความรู้ด้านทฤษฎีที่จัดโดยขึ้นโดยราชวิทยาลัยกำหนด เช่น หลักสูตรการฝึกอบรมศัลยปฏิบัติที่ดี ( Good surgical practice ), พื้นฐานการวิจัยทางศัลยศาสตร์ (Basic Surgical Research & Methodology)

             ๒). ส่งไปเรียนที่สถาบันร่วมฝึกอบรม เช่น ความรู้พื้นฐานที่เป็นหลักการเบื้องต้นของศัลยศาสตร์ ( Basic Science ), ATLS

             ๓). จัดกิจกรรมทางวิชาการการเรียนการสอนที่ครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตรของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย โดย อาจารย์แพทย์ทั้งใน และ นอกสถาบันในสถาบันฝึกอบรม  มีการจัดกิจกรรมการวิชาการ  แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กิจกรรมทางวิชาการที่จัดโดยกลุ่มงานศัลยกรรม และกิจกรรมทางวิชาการที่จัดโดยสาขาวิชาหรือสถาบันสมทบ  ทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นกิจกรรมที่แพทย์ประจำบ้านจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาการเลื่อนชั้นและส่งสอบวุฒิบัตร ที่กำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าร่วมนำเสนอและอภิปรายในหัวข้อต่างๆดังนี้

กิจกรรมทางวิชาการที่จัดโดยกลุ่มงานศัลยกรรม ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ ที่ห้องประชุมกองศัลยกรรมอาคาร 100 ปี ชั้น 2

  • Morning reportกำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าร่วมนำเสนอและอภิปรายใน Morning report ทุกวันจันทร์ โดยการนำ case ผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในแผนกศัลยกรรมทั้งหมดในช่วงเวลานอกเวลาราชการตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอภิปรายเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสมาอภิปรายผู้ป่วยโรคต่างๆร่วมกับคณาจารย์เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปรับปรุง พัฒนา และ ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไป
  • Interesting case conference และ Grand round โดยมอบหมายให้แพทย์ประจำบ้านที่ประจำสายในช่วงเดือนนั้นๆปรึกษากับอาจารย์ผู้ดูแลเพื่อเลือกและเตรียมcase ที่น่าสนใจในการนำเสนอเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ แพทย์พี่เลี้ยง และแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1-4 มีโอกาสได้ฝึกวิเคราะห์และแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3-4 ค้นคว้าเตรียมความรู้ในหัวข้อดังกล่าวมานำเสนอเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ให้ทันสมัยและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย
  • Morbidity & Mortality Conference กำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าร่วมนำเสนอและอภิปรายใน Morbidity & Mortality Conference ของทุกแผนกในกองศัลยกรรมทุกวันอังคารและพฤหัสบดีในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสมาอภิปรายผู้ป่วยโรคต่างๆร่วมกับคณาจารย์ทำให้ได้ความรู้กว้างขวางและลึกซึ้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ป้องกันและหลีกเลี่ยงการกระทำอันจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตของผู้ป่วย
  • Journal club กำหนดให้แพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 1-4 ต้องนำหา journal ที่น่าสนใจโดยหาอาจารย์เป็นที่ปรึกษา แล้วมานำเสนอในห้องประชุม และมีการนำเสนอความคิดเห็นและหัดวิพากษ์ ข้อมูล
  • Topic review & Operative technique กำหนดให้แพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 1-4 ติดต่อกับอาจารย์ผู้คุมการอภิปรายนั้นๆ เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ เพื่อนำมาเตรียมเนื้อหาเพื่ออภิปรายนำเสนออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ในวันอังคารหรือพฤหัสบดี
  • Pre-operative conferenceกำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าร่วมนำเสนอและอภิปรายในPre-operative conferenceทุกวันศุกร์ โดยการนำ case ผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดในแผนกศัลยกรรมในช่วงเวลาราชการตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ถัดไปจากวันอภิปราย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสอภิปรายแนวคิด แนวทางการดูแลรักษา เพื่อเตรียมความพร้อมและความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆร่วมกับคณาจารย์เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ ปรับปรุง พัฒนา และค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไป

กิจกรรมทางวิชาการที่จัดโดยสาขาวิชาหรือสถาบันสมทบ

  •  เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมหมุนเวียนไปตามสาขาวิชาต่างๆก็จะถูกกำหนดให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสาขานั้นๆซึ่งจะเป็นการศึกษาทางด้านรายละเอียดลึกซึ้งของแต่ละสาขาวิชาเช่น Journal Club, X-ray, Patho conference
  • มีการจัดประชุมวิชาการระหว่างแผนก ส่งเสริมการทํางานแบบสหวิชาชีพ เช่น Interdepartment  Conference, X-ray, Patho Surgical Conference (สถานที่และเวลาตามกำหนด)

          ๔). จัดส่งแพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติการทางศัลยศาสตร์ (workshop) ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

             แผนการสอนด้านปฏิบัติ    กลุ่มงานศัลยกรรม  รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า วางแผนการฝึกอบรมให้แพทย์ประจำบ้านสาขา ศัลยศาสตร์ ได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายในสาขาวิชาหรือหน่วยต่างๆ  อย่างเท่าเทียมสอดคล้องไปกับหลักสูตรของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ และแพทยสภา

กองศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า  มีการจัดตารางการหมุนเวียนแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป ตลอดหลักสูตร  (๔๘ เดือน) ดังนี้                       

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

     - ศัลยศาสตร์ทั่วไป                                                                          4 เดือน

     - วิสัญญี                                                                                      1 เดือน

     - ICU                                                                                          1 เดือน

     - ศัลยกรรมระบบประสาท                                                                  1 เดือน

     - ศัลยกรรมระบบทางเดินระบบปัสสาวะ                                                 1 เดือน

     - กุมารศัลยศาสตร์                                                                           1 เดือน

     (ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)     

     - ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก                                                           1 เดือน

     (ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)                                                                                                                            

      - ศัลยกรรมกระดูก                                                                          1 เดือน

      - ศัลยกรรมตกแต่ง                                                                         1 เดือน


แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 และ 3

      - ศัลยศาสตร์ทั่วไป                                                                          14 เดือน

      - ศัลยศาสตร์หลอดเลือด                                                                   1 เดือน

        (ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)  

      - ศัลยศาสตร์ตับและทางเดินน้ำดี                                                         1 เดือน   

         (ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)  

      - ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก                                                   1 เดือน                    

        (ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)  

      - กุมารศัลยศาสตร์

        (ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)                 1 เดือน

      - ศัลยกรรมระบบประสาท                                                                   1 เดือน

      - ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ                                                         1 เดือน

       - ศัลยกรรมกระดูก                                                                           1 เดือน

       - พยาธิวิทยา                                                                                 1 เดือน

       - นรีเวชกรรม                                                                                 1 เดือน

       - Elective – X-RAY                                                                        4 เดือน

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 4

     - ศัลยศาสตร์ทั่วไป                                                                            10 เดือน

     - Elective                                                                                       2 เดือน

Elective แพทย์ประจำบ้านปี 3

     - ศัลยศาสตร์หลอดเลือด   ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

     - ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     - ศัลยศาสตร์ ศีรษะ คอ และเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริรา


 แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่

ความคืบหน้าของงานวิจัย

ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและริเริ่มหาหัวข้องานวิจัย

นำเสนอ proposal ต่อที่ประชุม เพื่อรับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุง

-เริ่มขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย

-เริ่มดำเนินเก็บข้อมูล และ เริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล

-ดำเนินเก็บข้อมูล และ เริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล

-สามารถเริ่มนำเสนอในที่ประชุม กลุ่มงานศัลยกรรม

-นำเสนอในที่ประชุม กลุ่มงานศัลยกรรม

-นำเสนอในงานประชุมราชวิทยาลัยและ/หรือ ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารทางการแพทย์

-จัดทำรูปเล่มพร้อมส่ง


หมายเหตุ สำหรับแพทย์ประจำบ้านที่ต้องการขอการรับรองวุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ให้มีคุณวุฒิ “เทียบเท่า 

             ปริญญาเอก” มีแนวทางการปฏิบัติดังแสดงไว้ใน (ตามผนวก ๖)


๖.๔ จำนวนปีของการฝึกอบรม   ๔  ปี

๖.๕  การบริหารจัดการฝึกอบรม

      ๑.  การแต่งตั้งคณะกรรมการฝึกอบรมและประธานการฝึกอบรม

           กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า  มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป” ขึ้นเพื่อกำกับดูแลการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป โดยประธานคณะกรรมการฝึกอบรมเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสาขานี้มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี และได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

๑.    กำหนดนโยบาย วางแผน ดูแลควบคุมและติดตามการประเมินผลการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

๒.    เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ป